วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่4  วันจันทร์ ที่1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 08.30-10.30น
และวันพฤหัสบดี ที่4  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 08.30-11.30น.



วันจันทร์ ที่1 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2559 เวลาเรียน 08.30-10.30น.

ความรู้ที่ได้รับ

                 การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทฤษฎีการเคลื่อนไหว ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา  



กลุ่มที่1 ด้านสังคม นักทฤษฎี คือ แบนดูร่าและอิริคสัน
  • อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้นและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่างๆของการเลียนแบบของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1.กระบวนการดึงดูด8วามสนใจ 
2.กระบวนการคงไว้ (Retention Process)
3.กระบวนการแสดงออก
4.กระบวนการจูงใจ (Motivational Process)
  • อิริคสัน ได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่1 ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ขั้นที่2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
ขั้นที่3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด
ขั้นที่4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ-ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่5 อัตภาพหรือการรู้จักตนเองเป็นเอกลักษณ์-การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่6 ความใกล้ชิดผูกพัน-ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง-ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่8 ความพอใจในตนเอง-ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
                สามขั้นแรกเป็นพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย



กลุ่มที่2 ด้านร่างกาย นักทฤษฎี คือ อาร์โนวด์ กีเซลล์และซิกมันด์ ฟรอยด์
  • อาร์โนวด์ กีเซลล์ ได้แบ่งพัฒนาการเด็กทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้
1.พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว
2.พฤติกรรมด้านการปรับตัว
3.พฤติกรรมด้านภาษา
4.พฤติกรรมด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม

  • ซิกมันด์ ฟรอยด์ แบ่งพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5ขั้น
1.ขั้นปาก
2.ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย
3.ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น
4.ขั้นแฝง
5.ขั้นอวัยวะเพสตอนปลาย




กลุ่มที่3 ด้ารสติปัญญา นักทฤษฎี คือ เพียเจต์และบรูเนอร์
  • เพียเจีย์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
2.ขั้นการปฏิบัติการคิด
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านนามธรรม
  • บรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ ความเข้าใจ หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acing, Imagineและ Symbolizing


กลุ่มที่4 ด้านอารมณ์ นักทฤษฎี คือ กิลฟอร์ด และDivito

  • กิลฟอร์ด เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้ซับซ้อนกว้างไกล หลายทิศทาง หรือเรียกว่า คิดอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืนหยุ่น และความคิดละเอียด
  • Divito ได้กำหนดขั้นตอนของการเกิดความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
1.ขั้นวิเคราะห์
2.ขั้นผสมผสาน
3.ขั้นการพบอุปสรรค
4.ขั้นคิดออก
5.ขั้นพิสูจน์





ประเมินตนเอง

          ตั้งใจเรียนเวลาอาจารย์สอน และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอนักทฤษฎีค่ะ คะแนน10/10

ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆต่างเตรียมพร้อมที่จะออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน และตั้งใจเรียนด้วยค่ะ คะแนน10/10

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

         อาจารย์ให้คำปรึกษาตลอด แนะนำนักศึกษาตลอดเวลา คะแนน10/10




วันพฤหัสบดี ที่4 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2559 เวลาเรียน 08.30-11.30น.

ความรู้ที่ได้รับ


ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้เปิดวิดีโอให้ดู และให้ข้อคิดกับนักศึกษาอีกด้วยค่ะ













จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาออกไปทำท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ 1 ท่า












จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้ออกไปเต้นท่าเคลื่อนไหนอยู่กับที กลุ่มละ 10 ท่า





กลุ่มดิฉันค่ะ



กลุ่มเพื่อนๆ








จากนั้นอาจารย์ให้ออกไปเต้นที่ละคน คนละ 3 ท่า ฝึกให้นักศึกษาสบตากับเพื่อนในห้อง










ประเมินตนเอง

          สนุกมากมีแต่เสียงหัวเราะ อาจารย์กันเอง แถมน่ารักอีกด้วยค่ะ คะแนน10/10

ประเมินเพื่อน

         ในห้องมีแต่เสียงหัวเราะเฮฮาสนุกสนาน เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี คะแนน 10/10

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

         อาจารย์น่ารัก ใจดี ให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา แถมสอนสนุกค่ะ คะแนน10/10











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น